วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

พระเกจิคณาจารย์ ในยุคปัจจุับัน

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะนำเสนอพระเกจิคณาจารย์ ผู้เรืองเวทย์วิทยาคม ที่น่ากราบไหว้แห่งยุคปัจจุบัน 



หลวงพ่อพูน  วัดบ้านแพน



หลวงพ่อพูน ฐิตสีโล (พระครูสุวรรณศีลาธิคุณ) ชาติภูมิ


พระครูสุวรรณศีลาธิคุณ หรือหลวงพ่อพูน ฐิตสีโล มีนามเดิมว่า ทองพูน นามสกุล สัญญะโสภี ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๕ (แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก) โยมบิดาชื่อแบน โยมมารดาชื่อสมบุญ สัญญะโสภี ณ บ้านสามกอ หมู่ ๑ ตำบลสามกอ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การศึกษา
หลวงพ่อพูนหรือเด็กชายทองพูนในขณะนั้นได้รับการศึกษาเบื้องต้นจากโรงเรียนศรีรัตนานุกูล หรือปัจจุบันนี้คือโรงเรียนวัดบ้านแพน “ศรีรัตนานุกูล” จนกระทั่งจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ จึงได้ออกจากโรงเรียนมาช่วยพ่อแม่ทำงานอย่างขยันขันแข็ง จนกระทั่งอายุได้ ๑๔ ปี จึงได้ติดตามหลวงปู่คำปัน พระธุดงค์มาจากจังหวัดลำพูน ขึ้นไปเมืองเหนือเป็นเวลา ๑ ปี จึงได้กลับมายังบ้านเกิดโดยสำเร็จวิชาด้านโหราศาสตร์กลับมา เมื่ออายุเพียง ๑๕ ปี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ นายทองพูนจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบ้านแพน จากคำชวนของหลวงพ่อวาสน์ เจ้าอาวาสวัดบ้านแพนในขณะนั้น เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๙๒ โดยมี พระปลัดแจ่ม วัดโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งในปีนั้นเองสามเณรทองพูนก็สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี และหลังจากบรรพชาเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยได้ ๓ ปี สามเณรทองพูนจึงได้อุปสมบท เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ปีมะโรง โดยมีพระครูปริยัติคุณูปการณ์ (วาสน์) วัดบ้านแพน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเกษมคณาภิบาล (หลวงพ่อมี) วัดมารวิชัย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูวิบูลย์ธรรมศาสน์ (หลวงพ่อสังวาลย์)วัดกระโดงทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ สำเร็จเป็นพระภิกษุสงฆ์เวลา ๐๘.๐๐ น. ได้รับนามฉายาว่า “ฐิตสีโล” จากนั้นจึงได้ตั้งใจสอบนักธรรมชั้นโทและ ชั้นเอกได้สำเร็จภายใน ๒ ปี
การศึกษาพุทธาคม
ในด้านพระเวทย์วิทยาคมหลวงพ่อพูนท่านได้สนใจและได้ศึกษาในเรื่องพุทธเวทย์มหามนต์ซึ่งเป็นศาสตร์แห่ง “พุทธ” มาตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี โดยในเวลานั้นได้ติดตามหลวงปู่คำปัน พระธุดงค์ที่มาจากภาคเหนือขึ้นไปอาศัยอยู่ภาคเหนือเป็นเวลา ๑ ปี จึงได้กลับมาบ้านเกิดพร้อมทั้งตำราการดูดวงที่ถือได้ว่าแม่นยำอย่างหาใครเปรียบได้ยาก ไม่เพียงแค่นั้นหลวงพ่อพูนท่านยังได้ฝึกเรียนกรรมฐานกับอาจารย์พริ้งฆราวาสจอมขมังเวทย์ในย่านบ้านแพน และได้รับการถ่ายทอดวิชาการทำน้ำมนต์มาจากอาจารย์พริ้งจนจบหลักสูตรวิชา จึงเป็นเหตุให้น้ำพระพุทธมนต์ที่หลวงพ่อพูนทำขึ้นมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก สามารถใช้ขับไล่ภูตผี ปีศาจ เสนียดจัญไรได้อย่างชะงัด
นอกจากอาจารย์พริ้งแล้วหลวงพ่อพูนยังได้ร่ำเรียนวิชามาจากอาจารย์ลพ เกตุบุตร ซึ่งเป็นพี่ชายของหลวงพ่อวาสน์พระอุปัชฌาย์ของท่าน และเป็นศิษย์เอกของอาจารย์จาบแห่งตำบลสำเภาล่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยหลวงพ่อพูนได้รับการถ่ายทอดวิชาการลงยันต์ตรีนิสิงเห ซึ่งเป็นยันต์ที่หลวงพ่อมักใช้จารลงในแผ่นยันต์หรือแหวนอยู่เสมอ ๆ สำหรับครูบาอาจารย์ที่เป็นพระสงฆ์นั้น หลวงพ่อพูนได้ศึกษาวิชามาจากหลวงพ่อมี วัดมารวิชัย ที่เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่าน จนมีความเชี่ยวชาญด้านพระเวทย์เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายวิชาพระคาถาชินบัญชรอันลือลั่นของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่แม้ว่าหลวงพ่อมีจะมีความเชี่ยวชาญในพระคาถานี้อย่างหาผู้ใดเทียบได้ยาก เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ยังชมหลวงพ่อพูนว่า “มีความเชี่ยวชาญพระคาถาชินบัญชรมากกว่าท่าน”
มูลเหตุของการเรียนตะกรุดดอก(ไม้)ทอง
มูลเหตุในการเรียนวิชาการทำตะกรุดของหลวงพ่อพูนนั้น คงสืบเนื่องมาจากในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ หลวงพ่อท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระกรรมวาจาจารย์ คือเป็นพระคู่สวดประจำวัดบ้านแพน ในวันหนึ่งมีพระในวัดที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อ ซึ่งกำลังจะลาสิกขาได้มากราบลาหลวงพ่อพร้อมกับเอ่ยปากขอของดีจากหลวงพ่อ หลวงพ่อท่านจึงดุไปว่าตัวท่านเองนั้นไม่มีวิชาอะไรและจะเอาของดีที่ไหนมาให้ ต่อมาหลวงพ่อท่านทราบว่าที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง มีพระอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมทางด้านการทำตะกรุดดอกทอง นั่นก็คือหลวงพ่อสนั่น วัดเสาธงทอง ท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเขียว ว่ากันว่าฉี่ของหลวงพ่อเขียวใครดื่มกินเข้าไปจะอยู่ยงคงกระพัน และเคยมีการทดลองนำปืนมายิงใส่ฉี่ของท่านปรากฏว่ายิงไม่ออกจริง ๆ วันหนึ่งหลวงพ่อสนั่นท่านได้รับกิจนิมนต์ให้มาเทศน์ที่วัดบ้านแพน หลวงพ่อพูนก็เข้าไปกราบนมัสการท่านและก็เลยถือโอกาสขอเรียนวิชาการทำตะกรุดจากหลวงพ่อสนั่น ตอนแรกที่ขอเรียนวิชานั้นหลวงพ่อสนั่นท่านไม่ให้ แต่พอสนทนากับท่านนานเข้า หลวงพ่อสนั่นจึงหลุดปากบอกกับหลวงพ่อพูนว่าถ้าอยากได้ให้ไปหาท่านที่วัดเสาธงทอง อยู่ต่อมาจนวันหนึ่งหลวงพ่อพูนท่านมีธุระต้องไปที่วัดเสาธงทอง ท่านจึงนึกได้ว่าเคยขอวิชาการทำตะกรุดจากหลวงพ่อสนั่นไว้ท่านจึงได้ไปร่ำเรียนวิชาการทำตะกรุดดอก(ไม้)ทองจากหลวงพ่อสนั่นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

วัดบ้านแพน  ตั้งอยู่เลขที่  ๑๒๕  หมู่  ๑  ตำบลสามกอ  อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

แหล่งข้อมูล



หลวงพ่อเอียด  วัดไผ่ล้อม




หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม อำเภอบางบาล อยุธยา

ชาติภูมิ
พระสุนทรธรรมานุวัตร ท่านมีนามเดิมว่า ละเอียด พูลพร มีภูมิลำเนาเดิมที่ ต.สะพานไทย อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑ ตรงกับขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะโรง ณ บ้านเลขที่ ๕ ต.สะพานไทย อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายผัน นางเสงี่ยม พูลพร มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด ๘ คน หลวงพ่อเอียด เป็น คนที่ ๖ ใน พี่น้อง ๘ คน


ชีวิตใหม่ในเพศบรรพชิต
หลวงพ่อเอียด ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๕ ตรงกับขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑ อายุ ๑๔ ปี ณ พัทธสีมาวัดไผ่ล้อม จ.พระนครศรีอยุธยา ในขณะบวชเรียนเป็นสามเณร หลวงพ่อท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีเมื่ออายุ ๑๖ ปี พ.ศ.๒๔๘๗ และสอบได้นักธรรมชั้นโทเมื่ออายุ ๑๘ ปี พ.ศ.๒๔๘๙

อุปสมบท
จนอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงได้ทำการอุปสมบท เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๑ ตรงกับขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ ณ พัทธสีมาวัดไผ่ล้อม โดยมี พระครูสุนทรวิหารกิจ (หลวงพ่อตุ้ม จันทฺโชติ) วัดจันทรารามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูถนอม วัดใหม่กบเจา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสาธรนวกิจ วัดบางบาล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและสอบนักธรรมชั้นเอกได้ในพรรษาที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ พร้อมทั้งหน้าที่เป็นพระครูสอนพระปริยัติธรรม อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ดูแลปกครองพระลูกวัดมาเป็นอย่างดีจนปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม จวบจนปัจจุบัน  ได้ริเริ่มการก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุที่ชำรุดทรุดโทรมภายในวัดไผ่ล้อมให้กลับคืนสู่สภาพสมบูรณ์และมีระเบียบน่าอยู่อาศัย

พร้อมกับส่งเสริมพระภิกษุสามเณรให้ศึกษาพระปริยัติธรรม และแผนกนักธรรมให้มากขึ้นด้วย พร้อมกับพัฒนาโรงเรียนวัดไผ่ล้อม ให้เป็นสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่น่าศึกษาหาความรู้ สนับสนุนการศึกษาของนักเรียนด้วยปัจจัย ๔
การสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคล 


การสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงพ่อเอียด ท่านได้เริ่มสร้างพระผงขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อท่านอายุได้ ๔๓ ปี โดยได้นำเอาวิชาความรู้ต่างๆที่ท่านได้เรียนรู้มา ทำการเขียนผง ลบผง เพื่อนำมาผสมเกสรดอกไม้ ผงธูปที่บูชาพระและผงว่านมงคลต่างๆที่หลวงพ่อปลูกไว้ นำมาผสมตำผงกดพิมพ์พระที่วัดเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ แบบพิมพ์พระที่สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเหมือนพระสมเด็จทั่วไป ด้านหน้าเป็นรูปพระประธษนอยู่ในซุ้มครอบแก้ว ด้านหลังเป็นขอบกระจกมีกอไผ่อยู่ตรงกลางด้านล่างกอไผ่มีข้อความวัดไผ่ล้อม อ.บางบาล จ.อยุธยา จำนวนสร้าง ๒๕๑๓ พระพิมพ์นี้หลวงพ่อได้แจกแก่ญาติโยมที่ร่วมทำบุญยกช่อฟ้าอุโบสถ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ ลูกศิษย์จะเรียกพระรุ่นนี้ว่า "พระหลังไผ่" หลังจากสร้างพระผงหลังไผ่แล้ว หลวงพ่อก็ได้สร้างพระเครื่องอีกหลายรูปแบบ รวมทั้งตะกรุดโทนเนื้อเงิน แหวนกำไลเงิน สีผึ้ง ผ้ายันต์ และอื่นๆ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกเนื่องในงานวาระต่างๆ และเพื่อหาปัจจัยในการบูรณธแลกะก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆของวัดไผ่ล้อมจนถึงปัจจุบัน


หลวงพ่อสาคร  วัดหนองกรับ




 หลวงพ่อสาคร มนุญโญ วัดหนองกรับ จ.ระยอง พระครูมนูญธรรมวัตร หรือ หลวงพ่อสาคร ศิษย์เอกผู้สืบทอดพุทธาคมจากหลวงปู่ทิม อิสริโก หลวงพ่อสาครเป็นผู้ฝักใฝ่ในด้านเวทย์มนต์คาถาอาคมและวิชาแพทย์แผนโบราณมาตั้งแต่เด็กๆ นามเดิมว่า สาคร ไพสาลี เกิดในกระกูลชาวไร่-ชาวนา เมื่อวันอังคาร แรม ๙ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑ ซึ่งตรงตามคติโบราณที่ว่าบุคคลนั้นจะมีความพิเศษอยู่ในตัว หากถือปฏิบัติก็จะพบกับความสำเร็จเจริญยิ่งๆขึ้นไปหากร้ายก็จะร้ายอย่างหาที่เปรียบไม่ได้และบุคคลที่เกิด ในราศีนี้จิตจะฝักใฝ่ด้านไสยศาสตร์เวทย์มนต์คาถา

โยมบิดาชื่อ นายกุ โยมมารดาชื่อนางนิด หลวงพ่อสาครเกิดที่บ้านท้ายทุ่ง หมู่สอง๒ ต.หนองกรับ อ.บ้านค่าย (บ้านท้ายทุ่งแห่งนี้เป็นสถานที่เดียวกับบ้านเกิดของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่) หลวงพ่อสาคร มีพี่น้องทั้งหมด2คนคือ
1.นางอยู่ ไพสาลี
2.หลวงพ่อสาคร

ประวัติการศึกษาของ หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ
หลวงพ่อสาคร ได้เข้าศึกษาเบื้องต้นในชั้นประถมปีที่ 1 เมื่ออายุได้5ปีที่โรงเรียนวัดหนองกรับจนจบชั้นประถมปีที่4 เมื่อพ.ศ. 2490ได้ออกมาช่วยโยมบิดา-มารดาประกอบอาชีพทำนาและเมื่อมีเวลาว่างก็จะออกเดินทางไปบ้านละหารไร่ เพื่อศึกษาวิชาไสยศาสตร์กับโยมหล่อและโยมทัต ซึ่งทั้งสองถือว่าเป็นผู้เรืองวิชาอาคมในสมัยนั้น และเข้าปฏิบัติหลวงปู่ทิมอยู่เป็นนิจซึ่งนับว่าเป็นศิษย์รุ่นเยาว์ที่หลวงปู่ให้ความเมตตาเรียกใช้อยู่เสมอ ด้วยนิสัยและความสนใจด้านไสยศาสตร์มาแต่เด็กและโตขึ้นจึงเป็นคนหนุ่มที่มีวิชาอาคมติดตัวแต่ก็ได้ใช้วิชาที่ได้ร่ำเรียนมาไปทำร้ายใครกลับมีแต่ช่วยเหลือเพื่อนๆรุ่นเดียวกันมาตลอด

อุปสมบท

เมื่ออายุครบ 20ปี โยมมารดาและญาติพี่น้องจึงได้ร่วมกันจัดพิธีอุปสมบทให้เป็นพระภิกษุที่วัดหนองกรับเมื่อวันพุธที่ 4มิถุนายน 2501 โดยมีพระครูจันทโรทัย(หลวงพ่อดิ่ง)เป็นพระอุปัชฌายะเป็นพระกรรมวาจาจารย์และพระอธิการเคียง วัดไผ่ล้อมเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า”มนูญโญ” เมื่ออุปสมบทแล้วได้เดินทางไปจำพรรษาที่ วัดละหารไร่ และได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ลป.ทิมเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและพุทธาคมจาก หลวงปู่ทิม อย่างจริงจังจึงได้รับ การถ่ายทอดวิชาอาคมต่างๆจากหลวงปู่ทิมจนหมดสิ้นโดยมิได้ปิดบังแต่อย่างใด เรียกได้ว่าเรียนได้กระจ่างชัดรู้จริง สามารถปฏิบัติได้เมื่อมีความเชี่ยวชาญในพระคาถาต่างๆ ที่เรียนแล้วด้วยใจรักในด้านนี้จึงได้เสาะแสวงหาศึกษาวิชาอาคมจาก หลวงพ่อเพ่ง สาสโน วัดละหารใหญ่ ซึ่งหลวงพ่อเพ่งรูปนี้เดิมเป็นมหาดเล็กในเสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ฯ จึงได้ศึกษาวิชาอาคมจาก หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า มีวิชาด้านคงกระพันเป็นเยี่ยมเขียนอักขระลงบนแผ่น ตะกั่วเพียงตัวเดียวให้คนทดลองยิงก็ยิงไม่ออกเมื่อ หลวงพ่อสาคร ได้ศึกษาวิชาอาคมจากหลวงพ่อเพ่งเป็นอย่างดีแล้ว ก็ได้รับคำแนะนำจากหลวงปู่ทิมให้ไปศึกษาวิชาจาก หลวงปู่หิน วัดหนองสนม ซึ่งหลวงพ่อสาครก็ได้รับความเมตตาจากหลวงปู่หินถ่ายทอดวิชาให้เป็นอย่างดีหลังจากศึกษาวิชาอาคมจากหลวงปู่หินแล้ว หลวงพ่อสาคร ก็เดินทางไปศึกษาวิชากับหลวงปู่โสม วัดบ้านช่อง อ.พานทอง จ.ชลบุรีซึ่งเป็นพระที่มีวิชาอาคมแก่กล้าอีกองค์หนึ่งของภาคตะวันออก หลวงพ่อสาคร ก็ได้ศึกษาจนกระทั่งจบวิชาความรู้ต่างๆ ด้วยนิสัยใฝ่รู้หมั่นศึกษา


หลวงพ่อสาคร ยังได้ศึกษากับพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านไสยเวทย์ต่างๆอีกหลายท่านทั้งพระภิกษุและฆราวาส ในปีพ.ศ. 2508 พระครูเกลี้ยงธรรมถีโยเจ้าอาวาส ลำดับที่9 วัดหนองกรับได้มรณภาพลง ทายกทายิกาชาวบ้านหนองกรับได้เดินทางไปหา หลวงปู่ทิม ที่วัดละหารไร่เพื่ออาราธนาหลวงพ่อสาคร มนูญโญ ให้กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองกรับ หลวงปู่ทิมได้อนุญาต หลวงพ่อสาคร จึงมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองกรับ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาถึงแม้ว่า หลวงพ่อสาคร ท่านจะมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองกรับก็มิได้ทอดทิ้ง หลวงปู่ทิม ผู้เป็นอาจารย์ยังคงเดินทางไปกราบนมัสการดูแลหลวงปู่อยู่เสมอจนกระทั่งหลวงปู่ทิมได้มรณภาพ ลงในปี 2518 หลวงพ่อสาคร ก็เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่ในการจัดบำเพ็ญกุศลศพ หลวงปู่ทิม อย่างเต็มที่สมกับที่เป็นศิษย์ก้นกุฏิอย่างแท้จริงจนบรรดาลูกศิษย์ลูกหาอื่นๆของหลวงปู่ทิมกล่าวยกย่องชมเชย หลวงพ่อสาคร กันทั่วหลวงพ่อสาครนอกจาก จะสนใจศึกษาวิชาอาคมต่างๆแล้วท่านก็มิได้ทอดทิ้งในด้านการศึกษาพระธรรมวินัย และเมื่อรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองกรับซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 200ปีและเคยถูกไฟไหม้เผากุฏิเสนา สงฆ์จนวอดวายท่านก็มิได้ดูดายเมื่อมาเป็นเจ้าอาวาสก็ได้บูรณะและสร้างเสนาสนะใหม่ขึ้นมาเพื่อให้ภิกษุสงฆ์ สามเณรและพุทธศาสนิกชนได้ใช้ปฏิบัติศาสนกิจต่อไปด้วย

ความสามารถพิเศษของหลวงพ่ออีกอย่างหนึ่ง คือมีความชำนาญในด้านปฏิมากรรมและวิจิตรศิลป์
การแกะสลัก การปั้นลวดลายและวาดภาพฝาผนัง ตลอดจนการลงรักปิดทอง ท่านจึงได้ลงมือบูรณะและก่อสร้างเสนาสนะถาวรวัตถุต่างๆด้วยตัวท่านเอง ในปีพ.ศ.2524 ได้รับพระราชทานเป็นพระครูชั้นโท

“พระครูมนูญธรรมวัตร” หลวงพ่อสาคร ได้สร้างพระเครื่อง วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2508 มีด้วยกันสองพิมพ์พิมพ์แรกเป็นสมเด็จรัศมีมีเนื้อผงใบลานเก่าสีดำหลวงพ่อได้ นำใส่บาตรแล้วเผาไฟ ทำให้มีเนื้อแกร่งและอีกพิมพ์หนึ่งเป็นรูปปั้นหลวงปู่ทิม เนื้อผงใบลานสีดำเนื้อเดียวกับสมเด็จพิมพ์รัศมีหลวงพ่อสาครได้นำออกมาแจกแก่ญาติโยมครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2510 ในงานทอดผ้าป่า พระชุดนี้ได้ก่ออภินิหารอย่างมากมาย ช่วยคุ้มครองชีวิตแก่ผู้นำติดตัวมาแล้วหลายราย
ต่อมาใน ปี 2524 หลวงพ่อสาคร ได้นำผงปัถมัง,ผงอิทธิเจที่ท่านเขียนเลขยันต์อักขระต่างๆ ผงของของหลวงปู่ทิม,ผงอิทธิเจหลวงพ่อเพ่ง วัดละหารใหญ่,ผงปัดตลอดอาจารย์ภูเมือง,ผงพุทธคุณหลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง,ผงพุทธคุณครูบาคำหล้า จ.เชียงใหม่,ผงพุทธคุณอาจารย์มั่น,ผงวิเศษหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกและผงของเกจิอาจารย์ต่างๆที่หลวงพ่อได้ไปศึกษามาหลวงพ่อสาคร ได้นำผงเหล่านี้มาสร้างเป็นสมเด็จพุทธนิมิต ซึ่งเป็นพระประธานในอุโบสถวัดหนองกรับหลังจากสร้างออกมาแล้วก็เป็นที่ฮือฮาขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อทหารนาวิกโยธินนายหนึ่งได้เหยียบกับระเบิดจนตัวลอยละลิ่วเมื่อเพื่อนๆวิ่งไปดูทหารคนนั้น กลับไม่เป็นอะไรเลยในคอคล้องสมเด็จพุทธนิมิตองค์เดียวเท่านั้นจึงยกโขยงมาขอ สมเด็จพุทธนิมิตจาก หลวงพ่อสาคร ไปเป็นจำนวนมากหลังจากนั้นหลวงพ่อได้สร้างวัตถุมงคลขึ้นอีกหลายพิมพ์ ซึ่งก็ล้วนมีประสบการณ์ทั้งสิ้นจนทำให้วัตถุมงคลเหล่านี้ หมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว ในปี2524 หลวงพ่อสาคร ได้รับพระราชทานเป็นพระครูชั้นโท หลวงพ่อสาคร ได้สร้างเหรียญปิดตารุ่นฉลองสมศักดิ์ ขึ้นด้านหลังเป็นยันต์ห้าเหรียญรุ่นนี้เป็นที่โจษขานกันมาอีก รุ่นหนึ่งในบรรดาพ่อค้าแม่ค้าในจังหวัดระยองเพราะทำให้มีฐานะดีขึ้นมาทุกวันนี้เพราะ เหรียญปิดตาหลวงพ่อสาคร นี่แหละหลวงพ่อสาครนับว่าเป็นที่เจริญรอย ตามคณาจารย์โดยแท้ด้วยศีลลาจารวัตรที่งดงามอีกรูปหนึ่งท่านเป็นพระที่สมถะมากด้วยพระธรรมวินัยมีอาคมอันแก่กล้า
หลวงพ่อสาคร มนูญโญ วัดหนองกรับ นับว่าเป็นเพชรน้ำเอกอีกรูปหนึ่งที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ ท่านเป็นพระผู้สืบสานอาคมจากหลวงปู่ทิมผู้เป็นอาจารย์มิขาดตกบกพร่อง



หลวงพ่อพิจารณ์  วัดโพธิผักไห่


IPB Image


วัดโพธิผักไห่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชาติกำเนิด   เป็นบุตรนายสมาน  นางสมศรี   พลายบางมด   เกษตรชาวสวน   เกิด เดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๐๐  ที่ตำบลบางมด  เขตบางขุนเทียน   เป็นบุตรคนที่ ๖ ในจำนวนพี่น้อง ๙ คน
การศึกษาทางโลก  เริ่มจากโรงเรียนชั้นปฐมต้นที่โรงเรียนวัดยายรม  ปฐมปลายที่โรงเรียนวัดใหม่สีสุก
มัธยมต้นและมัธยมปลายที่โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ เขตบางขุนเทียน จบปริญญาตรีรัฐศาสตร์บัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ชีวิตในวัยเด็ก  เนื่องจากอยู่ครอบครัวเกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างชาวชนบททั่วไป วัยเด็กติดปู่ ย่า เข้าวัดในวันพระอยู่เสมอ ๆ บางวันต้องพายเรือ นำหมาก พลูและไม้กวาดของโยมย่าไปถวายหลวงปู่บุญมี ( พระถาวรพรหมานุกูล เจ้าอาวาสวัดไทรในขณะนั้น ) จึงได้รับความเมตตาอบรมกรรมฐานเบื้องต้นแต่เยาว์วัย ประกอบกับคติความเชื่อในสมัยนั้น ปู่ ย่า พ่อ แม่ มักนำลูกชายไปถวายเป็นลูกบุญธรรมพระเถระ เพื่อให้เป็นลูกพระลูกเจ้า ว่านอนสอนง่ายและอยู่รอดปลอดภัย กับหลวงปู่ผล วัดหนัง บางขุนเทียน  หลวงปู่เอื้อน วัดบางขุนเทียนกลาง  หลวงปู่มิ่ง วัดกก เป็นต้น
ชีวิตในชนบท  ฝึกให้ต้องมานะอดทนต้องช่วยพี่ๆ พายเรือตามคลองไปส่งส้มและผลไม้ที่ตลาดดาวคะนอง ( เขตจอมทองปัจจุบัน ) ต้องเดินเป็นระยะทางนับเกือบ ๑๐ ก.ม. กว่าจะจบการชั้นมัธยม
ชีวิตในวัยหนุ่ม  แม้เมื่อเติบโตเป็นหนุ่มแล้ว ยังรักการตระเวนไหว้พระเถระฝากตัวเป็นศิษย์ ขอพรและขอคำแนะนำในภูมิเวทย์ ภูมิธรรมอยู่เสมอ เช่น หลวงพ่อหงส์ วัดบางพลีใหญ่ในจังหวัดสมุทรสาคร  หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ จังหวัดสมุทรสงคราม หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม จังหวัดนครปฐม พระอาจารย์บุญลือ วัดคำหยาด จังหวัดอ่างทอง หลวงพ่อทองหยิบ วัดบ้านกลาง จังหวัดอ่างทอง และครูฆราวาส ต่างมี ครูชุบ ครูเล็ก ครูต้อ ( หลานหลวงพ่อพุธ สารสุข ) ครูนรงค์ เผือกเที่ยง ( ศิษย์หลวงพ่อเพชร กัญถเถโก ) เนืองจากเป็นผู้สนใจในทางเวทย์และอักขระอาคม ขณะอายุได้เพียง ๒๕ ปี ก็สามารถ เขียน อ่าน ตำราอักขระขอมโบราณต่างๆได้เป็นพื้นฐานให้ได้ศึกษาตำรับตำรา สมุดข่อยมากมายในเวลาต่อมา
ชีวิตในร่มกาสาวพัตร อุปสมบทครั้งแรกเมื่อจบปริญญาตรีเป็นการบวชตามประเพณีของชายไทย ณ. วัดชลประทานรังสฤษฏ์ ( บวชหมู่ ) โดยมีพระครูปัญญานันทะ เป็นอุปํชฌาย์ และได้ลงไปปฏิบัติศึกษากับหลวงพ่อพุทธทาส ที่สวนโมกข์พลารามอยู่ระยะหนึ่ง ครั้นพ้นพรรษาก็ได้ลาสิกขาบทประกอบอาชีพการงานอยู่นับสิบปีเศษ เมื่อมีวันหยุดวันว่างก็ยังตระเวนกราบไหว้ครูบาอาจารย์ทั้งหลายอยู่เสมอๆ ยังขวนขวายในตำหรับตำราอยู่เป็นนิจย์
                  การอุปสมบท ครั้งที่ ๒ เนื่องจากไม่ได้สมรสมีครอบครัว จึงไม่มีภาระพันธะใดๆ นอกจากทำนุบำรุงบิดามารดาตามหน้าที่ ครั้นโยมแม่ป่วยด้วยอาการความจำเสื่อม ตั้งใจบวชเป็นกุศลเดือนหนึ่ง ขณะอายุได้ ๔๓ ปี โดยอุปสมบท ณ วัดโพธิผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพระครูประจักษ์สุตคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์และมีวัดโพธิผักไห่นี้เอง ได้ค้นพบตำราเก่ามากมาย ซึ่งเก็บรักษาไว้แต่โบราณ โดยพระครูพิสิษฐ์สังฆการ อดีต จ.อ. ( ครองวัดแต่พ.ศ. ๒๔๕๙  พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ) และพระครูบวรสังฆกิจ ( ครองวัด พ.ศ.๒๔๘๐  พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นศิษย์หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ) ด้วยวัยที่เริ่มมองเห็นสัจจธรรมประกอบกับรักสงบ และสันโดษ จึงอธิฐานชีวิตเพื่อศาสนธรรมตลอดชีพ เริ่มรวบรวมตำราต่างๆ ของวัดโพธิผักไห่ซึ่งมีอยู่มากมาย ตำราของหลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ ตำราของหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เก็บรวบรวมมีดหมอ และฤาษีของครูบาอาจารย์ต่างๆ ขึ้นบูชา


หลวงพ่อชำนาญ  วัดบางกุฏีทอง 




พระครูปทุมวรกิจ (ชำนาญ อุตตมปญโญ)
สถานเดิม
              ชำนาญ นามสกุล พันธ์หว้า เกิดวันอาทิตย์ ชึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีชวด วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2515 บิดา นายชะโอด
มารดา นางสำเนียง บ้านเลขที่ 14 หมู่ที่ 7 ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
บรรพชา
              ตรงกับ วันเสาร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ปีขาล วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ณ วัดบางหลวง ตำบลบางหลวง อำเภอ
เมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
อุปสมบท
              ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 ปีวอกวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2538 ณ วัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอ
เมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
              พระอุปัชฌาย์พระสุเมธาภรณ์ วัดบางหลวง ตำบลบางหลวง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
              พระกรรมวาจาจารย์ พระครูปทุมธรรมานุสิฐ วัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
              พระอนสาวนาจารย์ พระครูปทุมสุตคุณ วัดสังลาน ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

วิทยฐานะทางการศึกษา
              พ.ศ. 2527 สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
              พ.ศ. 2533 สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน จังหวัดปทุมธานี)
              พ.ศ. 2548 สอบได้นักธรรมชั้นเอก
              พ.ศ. 2549 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.)
          พ.ศ. 2551 ได้รับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาการจัดการเชิงพุทธจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มีความชำนาญการ
1.    ด้านการแสดงพระธรรมเทศนา
2.    ด้านนวกรรมาทิฎฐายี ควบคุมดูแลการก่อสร้างและบูรณะปฎิสังขรณ์ถาวรวัตถุ
3.    ชำนาญการด้านภาษามอญ

สมณศักดิ์
              พ.ศ. 2543 เป็นพระสมุห์ ฐานานุกรม ใน พระครูโสภณพิทักษ์ พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอกวัดโสภาราม ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานีจังหวัดปทุมธานี
              พ.ศ. 2549 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฏร์ชั้นโท ราชทินนาม     พระครูปทุมวรกิจ

แหล่งข้อมูล http://www.be2hand.com